WW1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ "สงครามโลกครั้งแรก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) เป็นสงครามทั่วโลกที่กินเวลาจากวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 โดยถูกอธิบายอย่างใคร่ครวญว่าเป็น "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งหมด"[5] มันนำไปสู่การระดมพลบุคลากรทางทหารมากกว่า 70 ล้านนาย รวมทั้งชาวยุโรป 60 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในสงครามขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[6][7] นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่อันตรายร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์[8] โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณเก้าล้านคนและพลเรือนเสียชีวิต 13 ล้านคนอันเป็นผลโดยตรงจากสงคราม[9] ในขณะที่ได้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 17 - 100 ล้านคนทั่วโลก[10][11]
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอร์สเนีย นักชาตินิยมยูโกสลาฟ ได้ลอบปลงพระชนม์ อาร์ชดยุก ฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี ในเมืองซาราเยโว ได้นำไปสู่วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม[12][13] ในการตอบสนอง ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดต่อเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม คำตอบของเซอร์เบียได้ล้มเหลวในการสร้างความพึงพอใจให้กับชาวออสเตรีย และทั้งสองฝ่ายต่างได้เข้าสู่สงคราม
เครือข่ายของพันธมิตรที่ประสานกันได้ขยายวิกฤตจากปัญหาทวิภาคีในคาบสมุทรบอลข่านจนไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนใหญ่ของยุโรป ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจของยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มพันธมิตร: ไตรภาคี ประกอบไปด้วยฝรั่งเศส รัสเซีย และบริติช และไตรพันธมิตรของเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ไตรพันธมิตร เป็นเพียงการป้องกันโดยธรรมชาติทำให้อิตาลีอยู่ห่างจากสงครามจนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 เมื่อเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังจากความสัมพันธ์กับออสเตรีย-ฮังการีได้ย่ำแย่ลง[14] รัสเซียรู้สึกว่าจำเป็นต้องให้การสนับสนุนแก่เซอร์เบียและอนุมัติการระดมพลทหารบางส่วน ภายหลังจากออสเตรีย-ฮังการีได้เข้ายึดครองกรุงเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม[15] การระดมพลทหารอย่างเต็มรูปแบบของรัสเซียได้ถูกประกาศในช่วงค่ำของวันที่ 30 กรกฎาคม วันต่อมา ออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีได้ทำแบบเดียวกัน ในขณะที่เยอรมนีได้เรียกร้องให้รัสเซียยกเลิกการะดมพลทหารภายในเวลาสิบสองชั่วโมง[16] เมื่อรัสเซียไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้อง เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคมเพื่อให้การสนับสนุนแก่ออสเตรีย-ฮังการี ตามหลังด้วยในวันที่ 6 สิงหาคม ฝรั่งเศสได้สั่งให้ระดมพลทหารอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้การสนับสนุนแก่รัสเซีย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[17]
ยุทธศาสตร์ของเยอรมนีในการทำสงครามสองแนวรบกับฝรั่งเศสและรัสเซียคือ การรวบรวมกองทัพจำนวนมากในตะวันตกอย่างรวดเร็วเพื่อเอาชนะฝรั่งเศสภายในเวลาหกสัปดาห์ จากนั้นก็สัปเปลี่ยนกองกำลังไปยังทางตะวันออกก่อนที่รัสเซียจะระดมพลทหารได้อย่างเต็มที่ สิ่งนี้เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาคือ แผนชลีเฟิน[18] เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม เยอรมนีได้เรียกร้องให้เคลื่อนทัพผ่านทางเบลเยียมโดยเสรี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุชัยชนะอย่างรวดเร็วต่อฝรั่งเศส[19] เมื่อคำเรียกร้องได้ถูกปฏิเสธ กองทัพเยอรมันจึงบุกครองเบลเยียมในวันที่ 3 สิงหาคม และประกาศสงครามกับฝรั่งเศสในวันเดียวกัน รัฐบาลเบลเยียมได้เรียกร้องสนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1839 และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ บริติชจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม บริติชและฝรั่งเศสยังได้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ญี่ปุ่นได้เข้าข้างกับบริติช ได้เข้ายึดครองดินแดนของเยอรมันในจีนและแปซิฟิก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914 จักรวรรดิออตโตมันได้เข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ได้ทำการเปิดแนวรบในคอลเคซัส เมโสโปเตเมีย และคาบสมุทรไซนาย สงครามเป็นการสู้รบกันใน (และดึงดูดเข้ามา) ดินแดนอาณานิคมของมหาอำนาจแต่ละฝ่ายได้กระจายความขัดแย้งไปยังแอฟริกาและทั่วโลก ฝ่ายภาคีและประเทศพันธมิตรต่างๆ ก็ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายสัมพันธมิตร ในขณะที่การรวมกลุ่มของออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี และประเทศพันธมิตรต่างๆ ได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
เยอรมันได้รุกเข้าสู่ฝรั่งเศสได้หยุดชะงักลงในยุทธการที่มาร์น และในช่วงปลายปี ค.ศ. 1914 แนวรบด้านตะวันตกได้เข้าสู่สงครามการบั่นทอนกำลัง โดยมีการขุดแนวสนามเพลาะเป็นเส้นทางยาวที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจนถึงปี ค.ศ. 1917 (แนวรบด้านตะวันออก ซึ่งตรงกันข้าม ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนกันโดยดินแดนขนาดใหญ่มาก) ในปี ค.ศ. 1915 อิตาลีได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเปิดแนวรบในเทือกเขาแอลป์ บัลแกเรียได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในปี ค.ศ. 1915 และกรีซได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งได้ขยายสงครามในคาบสมุทรบอลข่าน สหรัฐอเมริกาในช่วงแรกได้วางตัวเป็นกลาง แม้ว่าจะยังคงวางตัวเป็นกลาง ก็ได้กลายเป็นผู้จัดส่งที่สำคัญที่สุดในการส่งวัสดุสงครามให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในท้ายที่สุด ภายหลังจากการจมเรือพาณิชย์ของอเมริกันโดยเรือดำน้ำเยอรมัน คำประกาศของเยอรมนีว่ากองทัพเรือจะกลับมาโจมตีอย่างต่อเนื่องต่อการเดินเรือที่เป็นกลาง และมีการเปิดเผยว่าเยอรมนีได้พยายามปลุกระดมให้แม็กซิโกริเริ่มทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1917 กองทัพอเมริกันที่ได้รับการฝึกฝนซึ่งยังไม่ได้เริ่มออกเดินทางไปยังแนวหน้าในจำนวนมากมาย จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 1918 แต่กองกำลังรบนอกประเทศอเมริกันซึ่งท้ายที่สุดก็มีจำนวนทหารถึงสองล้านนาย[20]
แม้ว่าเซอร์เบียจะพ่ายแพ้ไปในปี ค.ศ. 1915 และโรมาเนียก็ได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1916 แต่กลับประสบความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1917 ไม่มีประเทศชาติมหาอำนาจใดถูกโค่นล้มออกจากสงครามจนถึงปี ค.ศ. 1918 ปี การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ในรัสเซีย ได้เข้ามาแทนที่อำนาจของพระเจ้าซาร์โดยรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ความไม่พอใจอย่างต่อเนื่องกับความสิ้นเปลืองของสงคราม จนนำไปสู่การปฏิวัติเดือนตุลาคม การก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต และลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์โดยรัฐบาลใหม่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เป็นอันสิ้นสุดของการมีส่วนร่วมของรัสเซียในสงคราม ตอนนี้ เยอรมนีได้เข้าควบคุมยุโรปตะวันออกและย้ายกองกำลังรบจำนวนมากไปยังแนวรบด้านตะวันตก การใช้กลยุทธ์ใหม่ การรุกของเยอรมันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 ได้ประสบความสำเร็จในช่วงแรก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ล่าถอยและยืนหยัดไว้ กองกำลังสำรองสุดท้ายของเยอรมันได้หมดลง เมื่อกองกำลังทหารอเมริกันที่มีความสดใหม่ 10,000 นายได้เดินทางมาถึงทุกๆ วัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขับไล่เยอรมันให้กลับไปในการรุกร้อยวัน การโจมตีอย่างต่อเนื่องซึ่งเยอรมันไม่อาจตอบโต้ได้เลย[21] ต่อมาได้มีประเทศในฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ประกาศที่จะถอนตัว ประเทศแรกคือ บัลแกเรีย ต่อจากนั้นก็เป็นจักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศบ้านเกิด และกองทัพก็ไม่เต็มใจที่จะต่อสู้รบอีกต่อไป จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มได้สละราชบังลังก์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน และเยอรมนีได้ลงนามในการสงบศึก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เป็นอันสิ้นสุดลงของการสู้รบ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในบรรยากาศทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมของโลก สงครามและผลผวงโดยฉับพลันได้จุดประกายการปฏิวัติและการก่อการกำเริบมากมาย บิ๊กโฟร์ (บริติช ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอิตาลี) ได้กำหนดเงื่อนไขของพวกเขาเกี่ยวกับประเทศมหาอำนาจที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสนธิสัญญาต่างๆ ที่ได้ตกลงกันในการประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919 ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ สนธิสัญญาสันติภาพของเยอรมัน: สนธิสัญญาแวร์ซาย[22] ในท้ายที่สุด อันเป็นผลมาจากสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิรัสเซียต่างได้ล่มสลายไปเสียแล้ว และประเทศรัฐใหม่จำนวนมากได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากส่วนที่เหลือของพวกเขา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงสุดท้าย ฝ่ายสัมพันธมิตรจะได้รับชัยชนะ(และการก่อตั้งสันนิบาตชาติในช่วงการประชุมสันติภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดสงครามขึ้นในอนาคต) สงครามโลกครั้งที่สองได้เกิดขึ้นตามมาในอีกยี่สิบปีต่อมา
Doppelgänger
ด็อพเพิลเก็งเงอร์ (เยอรมัน: Doppelgänger) เป็นความเชื่อ โดย doppel มีความหมายเดียวกับคำว่า double ในภาษาอังกฤษหรือแปลได้ว่า "ซ้ำสอง" ส่วนคำว่า gänger หมายถึง "goer" มีคำเรียกอีกอย่างว่า evil twin (แฝดปีศาจ) หรือ bilocation (การปรากฏตนในสองสถานที่) ซึ่งมีที่มาจากเรื่องเล่าขานพื้นบ้านของเยอรมัน
นิยามกว้าง ๆ ของด็อพเพิลเก็งเงอร์ กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่มีการพบเห็นบุคคลหนึ่งผู้ในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่ ศัพท์นี้ได้ถูกนำมาใช้มากที่สุดกับกรณีของฝาแฝดผู้ชั่วร้าย ซึ่งปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปในวรรณกรรมและภาพยนตร์แนวลึกลับต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วด็อพเพิลเก็งเงอร์ถูกถือเป็นสัญญาณแห่งความโชคร้าย ความเจ็บป่วยหรือภยันตรายจะเกิดขึ้นหากเพื่อนฝูงหรือเครือญาติได้พบเห็น ในขณะที่การพบเห็นด็อพเพิลเก็งเงอร์ของตนจะนำมาซึ่งความตาย ถึงกระนั้น รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่ว่านี้นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงดังกล่าว เนื่องจากเรื่องราวและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับคำนี้มีขอบเขตที่กว้างกว่านั้นมาก
ด็อพเพิลเก็งเงอร์ เป็นคำที่ใช้เรียกกรณีที่มนุษย์คนหนึ่งได้ปรากฏตัวตนเพิ่มขึ้นมาจากเดิมอีกคนหนึ่งซึ่งจะมีลักษณะภายนอกเหมือนกันทุกประการ
ตามเรื่องราวที่เล่าขานกันมาด็อพเพิลเก็งเงอร์นั้นจะไม่มีเงาของตัวเอง รวมทั้งไม่มีภาพสะท้อนบนกระจกหรือผิวน้ำ มันอาจจะให้คำแนะนำอะไรบางอย่างกับบุคคลต้นแบบของมันด้วยเจตนาร้ายซึ่งยุแยงให้เกิดความเข้าใจผิดต่าง ๆ หรืออาจจะปรากฏตัวต่อหน้าญาติมิตรเพื่อทำให้เกิดความสับสน และมันอาจจะปรากฏตัวในลักษณะที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ยามที่บุคคลต้นแบบของมันเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเกิดความคิดของมนุษย์ตัวจริงได้ไม่ดีหรือคิดชั่วร้าย มนุษย์ที่เป็นด็อพเพิลเก็งเงอร์จะกลืนกินความชั่วนั่นมาเก็บไว้ที่ตัวเอง ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าปรากฏการณ์ด็อพเพิลเก็งเงอร์นั้นเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด ความเชื่อบางประเภทนั้นยึดหลักที่ว่ามนุษย์ทุกคนบนโลกจะมีฝาแฝดของตนอยู่ หากบุคคลนั้นเป็นคนดี ฝาแฝดก็จะชั่วร้าย หากบุคคลนั้นเป็นคนชั่วร้าย ฝาแฝดก็จะเป็นไปในทางกลับกัน และการที่ฝาแฝดทั้งสองมาพบกันนั้นก็จะยังผลให้ทั้งคู่ต้องพบกับจุดจบของชีวิต บ้างก็เชื่อว่าด็อพเพิลเก็งเงอร์เป็นภูตผีปีศาจในรูปแบบหนึ่งที่จะปรากฏตัวขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงลางร้าย หากพวกมันไม่ได้นำพามาซึ่งลางร้ายเสียเอง นอกเหนือไปจากนี้แล้ว บุคคลบางกลุ่มมีความเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ว่านี้ว่าน่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้พลังจิตที่มีชื่อเรียกว่า "Out-of-Body Experience" หรือ "Astral Projection" ในกรณีนี้มีการกล่าวอ้างว่ามีหลายคนพบเห็นพราหมณ์บางคนหลายสถานที่ในเวลาเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่พราหมณ์ผู้นั้นกำลังนอนอยู่
空知英秋
ฮิเดอากิ โซราจิ (ญี่ปุ่น: 空知英秋 โรมาจิ: Sorachi Hideaki ทับศัพท์: เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2522)[1] เป็นนักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงจากผลงานหนังสือการ์ตูนกินทามะ ซึ๋งเขียนตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2546 [2] หนังสือการ์ตูนกินทามะมียอดขาย 50 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 [3]
โซราจิเริ่มสนใจการ์ตูนในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามระหว่างที่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โซราจิได้แสดงผลงานการ์ตูนให้กับพ่อของเขาซึ่งก็หัวเราะเยาะเขาทันที หลังจากนั้นเขาก็ละทิ้งความฝันที่จะเป็นนักเขียนการ์ตูน หลังจากจบการศึกษาจากวิทยาลัยเขาไม่สามารถหางานทำและเริ่มวาดการ์ตูนอีกครั้งเพื่อหารายได้ เขาสามารถอยู่ได้จากผลงานการ์ตูนเรื่องแรกชื่อ Dandelion ซึ่งภายหลังได้ตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มแรก โดยโซราจิเรียกการ์ตูนเรื่องนี้ว่าเป็นผลงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกของเขา เมื่อเริ่มต้นการเขียนการ์ตูนเรื่องยาว การ์ตูนกลับไม่เป็นที่นิยมและเสี่ยงต่อการถูกตัดจบ แม้ว่าโซราจิจะพอใจกับหนังสือการ์ตูนรวมเล่มฉบับแรกที่ขายได้ทั้งหมด แต่หลังจากนั้นเขาก็รู้ว่าสำนักพิมพ์ชูเอฉะกังวลเรื่องยอดขายจึงตีพิมพ์เป็นจำนวนน้อย[4] เพื่อเพิ่มความนิยมผู้เขียนแนะนำกลุ่มตัวละครใหม่คือกลุ่มชินเซ็นงุมิ ที่รู้สึกว่าน่าจดจำกับผู้ช่วยของเขา [5] โซราจิมีความหวังเล็กน้อยเกี่ยวกับความนิยมของการ์ตูน โดยเขาสังเกตเห็นว่าหลายคนเคยบอกว่าการ์ตูนไม่น่าจะได้ตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มเกิน 2 เล่ม อย่างไรก็ตามเมื่อหนังสือการ์ตูนเล่มที่สามวางจำหน่าย โซราจิพบว่าเขาไม่มี "วัตถุดิบสดใหม่ที่จะใช้" [6] ในช่วงปีแรกของซีรีส์ โซราจิเชื่อว่าที่มาของความนิยมของกินทามะส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับละครชินเซ็นงุมิ ในขณะที่ละครออกอากาศในช่วงปีแรกของซีรีส์เมื่อการ์ตูนส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้นที่สร้างตัวละครและโลก เขารู้สึกไม่สบายใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับละคร ในปีที่สองและต่อ ๆ ไปเขาเริ่มกล้าที่จะสร้างเรื่องราวและแนวความคิดของตัวเองมากขึ้น สร้างเส้นเรื่องที่ยาวขึ้นซึ่งรวมถึงเพื่มความดราม่ามากขึ้นในขณะที่ยังคงรักษาอารมณ์ขันและการเสียดสีของญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน[7] แม้ว่าโซราจิได้วางแผนที่จะจบซีรีส์แล้ว แต่เขาก็ไม่แน่ใจว่ามังงะจะไปถึงจุดนั้นเนื่องจากตัวละครที่ต้องการการพัฒนาที่จะทำตัวเหมือนที่เขาต้องการ[4]
เค็นตะ ชิโนฮาระ (ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง สเก็ต ดานซ์) เคยเป็นผู้ช่วยของเขา [8] เช่นเดียวกับโยอิจิ อามาโนะ (ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง AKABOSHI ตำนาน 108 วีรบุรุษ ) กินทามะและสเก็ตดานซ์มีบทผสานเรื่องกันในโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในเรื่องกินทามะตอนที่ 349 และในเรื่องสเก็ต ดานซ์ ตอนที่ 180 ซึ่งเป็น 349
โซราจิปรากฏตัวทั้งในหนังสือการ์ตูนและอนิเมะของกินทามะหลายครั้งในฐานะลิง
ผลงาน
- กินทามะ -- การ์ตูนเรื่องยาว (พ.ศ. 2546-2562)
- กินทามะ ปี 3 ห้อง Z ครูซ่ากินปาจิ -- ไลท์โนเวล (พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน) รับผิดชอบวาดภาพประกอบ (ไลท์โนเวลเขียนเรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ)
- แดนดิไลออน -- การ์ตูนสั้นจบในตอน ตีพิมพ์ร่วมในหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่ม 1
- ชิโร่คุโร่ -- การ์ตูนสั้นจบในตอน ตีพิมพ์ร่วมในหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่ม 2
- 13 -- การ์ตูนสั้นจบในตอน (พ.ศ. 2551) ตีพิมพ์ร่วมในหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่ม 24
- บังคาระซังมาแล้ว!! -- การ์ตูนสั้นจบในตอน (พ.ศ. 2553) ตีพิมพ์ร่วมในหนังสือการ์ตูนกินทามะ เล่ม 38
- ซามูไรเดอร์ -- หยุดงานในขั้นร่างภาพ
ไพ่นกกระจอก (จีนตัวเต็ม: 麻將; จีนตัวย่อ: 麻将; พินอิน: má jiàng; หรือ จีนกวางตุ้ง: 麻雀; พินอิน: má què; แต้จิ๋ว: เหมาะเจี๊ยะ moh4 ziah8; ฮกเกี้ยน: มัวเจียง; อังกฤษ Mahjong) ถือว่าเป็นการพนันชนิดหนึ่งซึ่งคนจีนเป็นผู้เผยแพร่ แต่สำหรับที่ประเทศจีนนั้นเขามีการสนับสนุนให้มีการเล่นนี้ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้วางไว้ โดยห้ามเล่นเกินเที่ยงคืน
ร่องรอยประวัติศาสตร์ของไพ่นกกระจอกสามารถพิสูจน์ได้ครึ่งหลัง ปี ค.ศ.1890 ใน ดินแดน Ning Po ประเทศจีน ไพ่นกกระจอกได้แพร่หลายไปทั่วจีน ซึ่งแต่ละพื้นเมืองของจีนก็มีการประยุกต์เกมกันไปต่างก็มีกฎเป็นตัวของตัวเองแตกต่างกัน หลังสงครามโลก โจเซฟ บาบคอก (Joseph Babcock) แพทย์ฝึกหัดชาวอเมริกาในเซี่ยงไฮ้ ได้จัดพิมพ์คู่มือเล่นไพ่นกกระจอกตามคำแนะนำของ Walker วิศวกรชาวอังกฤษ ว่าให้เพิ่มตัวเลขอารบิกลงไปบนตัวหมากซึ่งทำให้จำแนกตัวหมากได้และง่ายต่อการเล่น
หน้าตาไพ่และอุปกรณ์[แก้]
ไพ่นกกระจอกจะมีไพ่ทั้งหมด 5 ชุดมาตรฐานด้วยกัน ได้แก่ ชุดท้ง ชุดเสาะ ชุดบ่วง ชุดทิศทั้งสี่ และชุดมังกร ผู้เล่นไพ่นกกระจอกบางกลุ่มอาจจะมีทั้ง 7 ชุดด้วยกัน โดยชุดที่เพิ่มมานั่นคือ ชุดดอกไม้และชุดฤดูกาล
ชุดท้ง[แก้]
ลายไพ่มีลักษณะเป็นวงกลมสีสันมีตั้งแต่เลข 1-9 ซึ่งแต่ละตัวจะมีอย่างละ 4 ตัว ดังนั้นจึงมีทั้งหมด 36 ตัวด้วยกัน
ชุดเสาะ[แก้]
เสาะ แปลได้เป็นกิ่งไม้ ดังนั้นลักษณะของไพ่ชุดนี้จะเป็นท่อนสีเขียว ไพ่ชุดนี้ผู้ผลิตบางรายจึงออกแบบให้เลขหนึ่งของชุดเป็นนกเกาะบนกิ่งไม้ ชุดนี้จะมีตั้งแต่ 1-9 มีอย่างละ 4 ตัว ซึ่งรวมแล้วมีทั้งหมด 36 ตัว
ชุดบ่วง[แก้]
บ่วง แปลว่าหมื่น ลักษณะของไพ่ชุดนี้จะมีแต่อักษรจีนล้วนๆ มีตั้งแต่ 1-9 มีอย่างละ 4 ตัว จึงมีทั้งหมด 36 ตัวเช่นกัน
ชุดทิศ[แก้]
ทิศ มีทั้งหมด 4 ทิศด้วยกัน ได้แก่ ตัง ทิศตะวันออก ไซ ทิศตะวันตก หน่ำ ทิศใต้ ปัก ทิศเหนือ แต่ละทิศมีอย่างละ 4 ตัว เพราะฉะนั้นชุดนี้มีทั้งหมด 16 ตัว
ชุดมังกร[แก้]
มังกรมีทั้งหมด 3 พันธุ์ ได้แก่ มังกรแดง “ตง” มังกรเขียว “แชฮวด หรือ ฮวดไช้” มังกรขาว “แปะปั้ง” มีทั้งหมด 12 ตัวด้วยกัน (มีอย่างละ 4 ตัว)
ชุดดอกไม้[แก้]
มีพันธุ์ดอกไม้ด้วยกัน 4 พันธุ์ ได้แก่ พลัม กล้วยไม้ เก็กฮวยและไผ่ ชุดนี้ก็จะมีอักษรจีนเขียนกำกับไว้เช่นเดียวกัน แต่ละพันธุ์ไม้มีอย่างละ 1 ตัว รวมทั้งหมดมี 4 ตัวด้วยกัน ชุดพันธุ์ไม้นี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้มาเล่น
ชุดฤดูกาล[แก้]
มีลักษณะคล้ายๆ รูปดอกไม้ แต่มีจะมีอักษรจีนกำกับไว้ว่าเป็นฤดูอะไร จะมีฤดูด้วยกัน 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว แต่ละฤดูมีอย่างละ 1 ตัวด้วยกัน ดังนั้นจึงมีทั้งหมด 4 ตัว ชุดฤดูกาลนี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้เข้ามาเล่นเช่นกัน
ลูกเต๋าและตัวกำหนดทิศ[แก้]
การเล่นไพ่นกกระจอกขาดไม่ได้เลยก็คือ ลูกเต๋า 3 ลูก และตัวกำหนดทิศ ซึ่งจะกำหนด 4 ทิศหลักเท่านั้น ซึ่งก็คือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ
โต๊ะ[แก้]
โต๊ะสี่เหลี่ยม 36×36 นิ้ว หรือแล้วแต่ตามสะดวกของผู้เล่น
วิธีการเล่น[แก้]
กฎ[แก้]
มีการกำหนดกฎก่อนการเล่น อย่างเช่น ตัวเลขมากที่สุดของคะแนนในการชนะและการชนะแบบพิเศษ
จำนวนผู้เล่น[แก้]
ผู้เล่น 4 คน (2, 3 คนก็เล่นได้)
ชนะอย่างไร[แก้]
ไพ่นกกระจอกเป็นการสะสมไพ่ให้ครบ 4 กลุ่มจากการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และต้องมีคู่ไพ่ที่เหมือนกันเรียกว่า “หนั่ง” เวลาชนะผู้ชนะต้องพูด “เหมาะเจี๊ยะ”
เฉ่า[แก้]
“เฉ่า” คือเรียงลำดับตัวไพ่ในชุดเดียวกัน 3 ตัว จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากผู้เล่นที่มีตำแหน่งทิศสูงว่าเราซึ่งก็คือคนที่นั่งทางซ้ายมือเรา เมื่อเขาทิ้งไพ่ลงมาแล้วในมือเรามีไพ่ชุดเดียวกันในมือ 2 ตัว (ต้องเป็นการเรียงลำดับ) เราต้องพูดว่า “เฉ่า” เพื่อที่เราจะได้เก็บไพ่ขึ้นมาเป็นของเรา และต้องเปิดไพ่ที่เราเลือกนำมาเรียงเป็นลำดับด้วย 3 ตัว
ผ่อง[แก้]
“ผ่อง” คือ กลุ่มไพ่ที่มีไพ่ 3 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากที่ผู้เล่นอื่นทิ้งไพ่ลงมาสามารถเก็บได้จากผู้เล่นทุกคน การ “ผ่อง” นี้เราต้องมีไพ่แบบเดียวกันในมือ 2 ตัว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีเราต้องพูดออกไปว่า “ผ่อง” แล้วเราจะเก็บไพ่ตัวนั้น (การ “ผ่อง” สามารถเก็บไพ่ข้ามต่ำแหน่งทิศได้) และต้องเปิดกลุ่มไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย
กั่ง[แก้]
“กั่ง” คือไพ่ตัวเดียวกัน 4 ตัว จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ การ “กั่ง” สามารถ “กั่ง” ได้ 2 วิธี
- “กั่ง” เป็นการเก็บไพ่มีหลักคล้ายๆ การ “ผ่อง” คือเราต้องมีไพ่ที่เหมือนกันในมือ 3 ตัวอยู่แล้ว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีในมือลงมาเราต้องพูด “กั่ง” จึงสามารถเก็บไพ่และต้องเปิดไพ่ด้วย แต่ที่แตกต่างไปจากการ “ผ่อง” คือ การ “กั่ง” สามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำที่อยู่แถวสุดท้าย
- “กั่ง” โดยที่เรามีไพ่เหมือนกันอยู่แล้ว 3 ตัวในมือและเราสามารถจั่วไพ่ตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ให้พูด “กั่ง” และเปิดไพ่ และสามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำอยู่แถวสุดท้าย
หนั่ง[แก้]
“หนั่ง” คือ ไพ่ 2 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ไม่ว่าจะเป็นชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, มังกรหรือทิศ “หนั่ง” นี้ไม่ได้เป็นหนึ่งวิธีในการเก็บไพ่ แต่มันเป็นคู่ไพ่ที่สำคัญมาก หากผู้เล่นใดสามารถสะสมไพ่ครบ 4 กลุ่มแล้วแต่หากขาดคู่ “หนั่ง” นี้ก็ยังไม่ชนะ (สามารถดูตัวอย่างได้จาก การชนะแต่ละประเภท)
การสร้างกำแพง[แก้]
- หมายเหตุ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเล่นไพ่นกกระจอกโดยการใช้ชุดไพ่มาตรฐาน 5 ชุดด้วยกัน
นำไพ่ทั้ง 5 ชุดซึ่งได้แก่ ชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, ทิศและมังกร มาคว่ำหน้าแล้วล้างไพ่ จากนั้นให้ผู้เล่นต่างช่วยกันสร้างกำแพงทั้งสี่ด้านขึ้นมาโดยให้ยาวด้านละ 17 ตัว 2 ชั้น (หมายถึงมีด้านบนและด้านล่างยาว 17 ตัวเท่ากัน) จากนั้นดันกำแพงที่ผู้เล่นสร้างมาไว้ด้านหน้าให้ตั้งเป็นแนวเฉียงล้อมให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน
ความสัมพันธ์ของผู้เล่น[แก้]
การเล่นไพ่นกกระจอกจะมีการกำหนดทิศของผู้เล่นแต่ละคนโดยในที่นี้ทิศตะวันออก (เจ้ามือ) สูงกว่าทิศใต้ ทิศใต้สูงกว่าทิศตะวันตก ทิศตะวันตกสูงกว่าทิศเหนือ และทิศเหนือสูงกว่าทิศตะวันออก
เจ้ามือ คือผู้เล่นตำแหน่งทิศตะวันออกจะมีสิทธิในการทอยลูกเต๋า เพื่อเป็นตัวกำหนดว่าจะเริ่มหยิบไพ่จากกำแพงด้านใด ตัวที่เท่าไรในเกมนั้นๆ
ตำแหน่ง[แก้]
- ตำแหน่งของผู้เล่นถูกกำหนดโดยทิศให้นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มที่ ทิศตะวันออก, ทิศใต้, ทิศตะวันตกและทิศเหนือ
- เมื่อผู้เล่นใดๆ คนหนึ่งชนะ (ไม่นับเจ้ามือ) ผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าได้เป็นเจ้ามือต่อไป และตำแหน่งทิศก็จะเปลี่ยนไป
- ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
รอบและการเปลี่ยนรอบ[แก้]
การเริ่มเล่นทุกครั้งจะอยู่ที่ทิศตะวันออกเล่นให้ครบ 4 คนแล้วจึงเปลี่ยนทิศถัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้จนถึงทิศเหนือครบสี่คนเป็นอันจบเกม (ตำแหน่งทิศของผู้เล่นก็จะเปลี่ยนไปด้วย) ไพ่นกกระจอกในการเล่นแต่ละรอบอาจจะมากกว่า 4 รอบก็ได้หากผู้ชนะเป็นคนเดิม
การเริ่มเกม[แก้]
ตั้งกำแพงเรียบร้อยแล้วให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งทอยลูกเต๋า (โยนในกำแพง) เพื่อกำหนดตำแหน่งเริ่มเกม
- หมายเหตุ ในที่นี้ผลหน้าลูกเต๋าคือ 4
- กำหนดตำแหน่งเริ่มเกม สุ่มตำแหน่งเริ่มเล่นโดยการทอยลูกเต๋าแล้วนับทวนเข็มนาฬิกา เมื่อนับแล้วไปลงที่ใครคนนั้นก็เป็นทิศตะวันออก
- การหยิบไพ่ ขึ้นอยู่กับตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าในที่นี้สมมุติลูกเต๋าออกมาเป็น 4
- นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มจากเจ้ามือไป เมื่อไปจบที่หน้าใครก็แสดงว่ากำแพงทิศนั้นจะเป็นกำแพงที่จะหยิบไพ่ (ในที่นี้คือทิศเหนือ)
- ให้นับตัวไพ่ไปตามตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าตามเข็มนาฬิกา (ผลลูกเต๋าออกมา 4 ก็นับไป 4 แล้วจึงจะเริ่มหยิบตัวที่ 5)
- เจ้ามือ (ผู้เล่นทิศตะวันออก) จะเป็นคนหยิบไพ่ก่อน ให้หยิบสี่ตัว (ตัว ab จะได้ไพ่ 4 ตัวเพราะมีด้านบนและด้านล่าง) จากนั้นผู้เล่นทิศใต้, ตะวันตก และทิศเหนือจะได้เป็นผู้หยิบไพ่เรียงตามลำดับ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนผู้เล่นทุกคนได้ไพ่ครบ 12 ตัว
- เจ้ามือเริ่มหยิบไพ่ 1 ตัว และหยิบไพ่ข้ามบล็อกไป 1 ตัว ดังภาพ ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ หยิบไปคนละ 1 ตัว (เวลาเล่นผู้เล่นทุกคนจะมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 13 ตัว ส่วนตัวที่ 14 ของเจ้ามือที่หยิบไพ่ขึ้นมานั้นเป็นตัวจั่ว)
- เจ้ามือมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ผู้เล่นคนอื่นๆ มีทั้งหมด 13 ตัว
- ในกรณีที่ผลหน้าลูกเต๋าออกมาเป็น 17
- ให้เจ้ามือนับทวนเข็มนาฬิกาโดยเริ่มนับที่ตำแหน่งทิศตะวันออก เราจะเห็นได้ว่ามันจะเป็นกำแพงที่หน้าทิศตะวันออก
- ให้นับจากด้านขวาของกำแพงที่ 17 นับตัวไพ่ไป 17 ตัว จะเห็นว่ามันหมดกำแพงที่ 17 ไม่ต้องตกใจก็ให้หยิบไพ่ตัวถัดไปจากกำแพงถัดไปได้เลย
- เจ้ามือทิ้งไพ่ลงมา 1 ตัวซึ่งเป็นไพ่ที่ไม่ต้องการ จากนั้นผู้เล่นตำแหน่งทิศถัดไปจะจั่วไพ่ขึ้นมาไว้ในมือและทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป (ให้ผู้เล่นทุกคนทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการให้อยู่ในกรอบกำแพง)
- ไพ่ที่ไม่ต้องการของผู้อื่นอาจจะมีประโยชน์กับเรา ดังนั้นควรดูให้ดีๆ ว่าเราคอยไพ่อะไรอยู่และเขาทิ้งไพ่อะไรลงมา
- ตะโกน “เฉ่า” ออกไปหากผู้เล่นในตำแหน่งที่สูงกว่าเรา(ผู้เล่นที่นั่งทางซ้ายมือของเรา)ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “เฉ่า” ขึ้นมาด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “เฉ่า”)
- ตะโกน “ผ่อง” ออกไปหากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “ผ่อง”)
- ตะโกน “กั่ง” ออกไปหากผู้เล่นใด ทิ้งไพ่ที่เรามีอยู่ในมือแล้ว 3ตัว หรือเราจั่วตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ และเราจะได้หยิบไพ่ตัวพิเศษ (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “กั่ง”)
- หากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ลงมาและมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถือว่าจบเกม ผู้เล่นอื่นๆ ที่จะ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” ไม่มีสิทธิในการเก็บไพ่ตัวนั้นแล้ว ผู้ชนะจะต้องเปิดไพ่ให้ทุกคนดูด้วย และผู้เล่นคนอื่นๆ ก็จะเปิดไพ่เช่นกัน
- “กั่ง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” และ “ผ่อง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร)
- ถ้าไพ่ที่ทิ้งลงมามันไม่มีประโยชน์สำหรับใครก็ให้ผู้เล่นคนถัดไปจั่วไพ่ขึ้นมาจากกำแพงขึ้นมา และทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป
- เกมจะจบก็ต่อเมื่อมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่ถ้าผู้เล่นคนอื่นเป็นฝ่ายชนะผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าจะได้เป็นเจ้ามือถัดไป และเป็นผู้ทอยลูกเต๋าเพื่อสุ่มตำแหน่งกำแพงต่อไป
- เมื่อกำแพงไพ่เหลือ 14 ตัว (7 บล็อก) เกมจะเริ่มใหม่อีกครั้งที่เจ้ามือคนเดิมและตำแหน่งทิศเดิม
การชนะ[แก้]
- ในการชนะทุกครั้งต้องมีคู่ “หนั่ง” คือไพ่ที่หน้าตาเหมือนกันในมือ 2 ตัว และรวมไพ่ที่เรามีจากการ “เชา” “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ยกเว้นกรณีการชนะในกรณีพิเศษ (ดูเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “หนั่ง”, ประเภทในการชนะในกรณีพิเศษ)
- ถ้าผู้เล่นสองคนต้องการไพ่ตัวเดียวกันในการชนะ ผู้เล่นในตำแหน่งที่ต่ำกว่าสิทธิก่อน (หมายถึง ผู้เล่นที่นั่งในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบ)
มือตาย[แก้]
ถ้าผู้เล่นพบว่าไพ่ในมือตนเองมีการเรียงลำดับที่ต่างกันมากตัดสินใจยากในการทิ้งไพ่ในกรณีนี้เรียกมือตาย ผู้เล่นจะไม่สามารถชนะในเกมนี้ได้และต้องรอเล่นเกมนี้ให้จบ
คะแนนพื้นฐาน[แก้]
- ผู้เล่นแต่ละคนจะมีชิปเท่าๆ กัน ส่วนแต่ละชิบมีค่าเท่าไรขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้เล่นเอง
- ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะต้องจ่ายเป็นสองเท่า
- ถ้าผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายให้สองเท่า
การชนะแต่ละประเภท[แก้]
การชนะในการเล่นไพ่นกกระจอกนี้จะมีผู้ชนะเพียง 1 คน เท่านั้น ยกเว้นในบางกรณีที่ไม่มีผู้ชนะให้เริ่มเกมใหม่ในตำแหน่งเดิม
ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะจะต้องจ่ายเป็นสองเท่า หากผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายเป็นสองเท่าให้แก่ผู้ชนะ ในกรณีที่มีผุ้ชนะ 2 คน ให้ผู้เล่นในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบเป็นฝ่ายชนะ (ดูที่คะแนนพื้นฐาน)
เนื่องด้วยบทความนี้ไม่สนับสนุนให้เล่นเชิงการเล่นพนัน ดังนั้นจึงไม่ขอบอกว่าวิธีชนะแต่ละวิธีนั้นจะได้มากน้อยเท่าไร
- สังเกต เวลาชนะผู้เล่นจะต้องมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ยกเว้นในกรณีที่ผุ้เล่นมีการ "กั่ง"
ไค่วู่[แก้]
ไค่วู่ เป็นการชนะด้วย “ผ่อง”, “เฉ่า” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วย
พิงวู่[แก้]
พิงวู่ เป็นการชนะด้วย “เฉ่า” อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะ “เฉ่า” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ และห้ามลืมคู่ “หนั่ง”
ยัดฟาน[แก้]
- ชนะด้วย “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ แต่ต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วยจะเป็นพันธุ์อะไรก็ได้ 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งต้องถูกต้องกับรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ
- เหมือนกับ ไค่วู่ แต่จะแตกต่างตรงที่ผู้ชนะนั้นต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น ยัดฟาน
เหลียงฟาน[แก้]
- “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ต่างๆ มีคู่ “หนั่ง” และต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วย 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ต้องถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ
- เหมือนกับ ยัดฟาน แต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะเป็น เหลียงฟาน
- เหมือนกับ พิงวู่ เพียงแต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะนับว่าเป็น เหลียงฟาน
ซัมฟาน[แก้]
- ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่เดียวกัน และคู่ “หนั่ง” ต้องมาจากชุดมังกร 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งผู้ชนะ
- เป็นการชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นจำนวน 3 กลุ่ม และ “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้จำนวนอีก 1 กลุ่ม ห้ามลืมคู่ “หนั่ง” จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ (หากเป็นการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ชุดมังกรทั้ง 3 พันธุ์, “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้อีกจำนวน 1 กลุ่ม และคู่ “หนั่ง” เป็นอะไรก็ได้ ให้ไปดูที่ วิธีการชนะในกรณีพิเศษไทซัมเหยิน)
เซฟาน[แก้]
เหมือนกับ ซัมฟาน นอกจากผู้ชนะต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น เซฟาน
งี่ฟาน[แก้]
- ผู้เล่นชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด และสามารถรวม 2 กลุ่ม จากการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกร 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งจะต้องถูกต้องจากรอบทิศและทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ
- ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด
ประเภทการชนะในกรณีพิเศษ[แก้]
ผู้ที่เล่นไพ่นกกระจอกและสามารถชนะผู้อื่นได้ 4 ประเภทต่อไปนี้ถือว่าเป็นบุญของนักเล่นมาก เพราะการชนะผู้อื่นด้วย 4 ประเภทนี้ถือได้ว่ามีโอกาสน้อยมาก
ซับซัมหยิว[แก้]
ซับซัมหยิว จะชนะด้วยประเภทนี้จะต้องมีหนึ่งกับเก้าในแต่ละชุด (1,9 ชุดท้ง 1,9 ชุดเสาะ 1,9 ชุดบ่วง) มังกรสามพันธุ์ ทิศทั้งสี่ และในประเภทนี้คู่ “หนั่ง” เป็นตัวอะไรก็ได้ที่ในมือเรามี
เชียงหยิว[แก้]
เชียงหยิว ส่วนมากเป็นการชนะด้วย “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” หนึ่งและเก้าจากทุกชุด และต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยซึ่งต้องเป็นหนึ่งหรือเก้าเท่านั้น
ไทซัมเหยิน[แก้]
ไทซัมเหยิน ชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ชุดมังกรทั้งสามพันธุ์ มีคู่ “หนั่ง” ส่วนอีกสามตัวที่เหลือจะเป็นการ “ผ่อง/ กั่ง/ เฉ่า” ก็ได้
ไทเซเห[แก้]
ไทเซเห เป็นการชนะด้วยชุดทิศซึ่งผู้เล่นสามารถ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ก็ได้ และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยจะเป็นอะไรก็ได้
青山 剛昌
โกโช อาโอยามะ (ญี่ปุ่น: 青山 剛昌 โรมาจิ: Aoyama Gōshō; เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2506) ชื่อเกิด โยชิมาซะ อาโอยามะ (ญี่ปุ่น: 青山 剛昌 โรมาจิ: Aoyama Yoshimasa) เป็นนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงจากการ์ตูนเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ออกแบบตัวละครที่เป็นมนุษย์ให้แก่อนิเมะเรื่อง แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย อีกด้วย
สมัยเด็ก[แก้]
อาโอยามะเกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2506 เมืองไดเอ (ปัจจุบันคือเมืองโฮกูอิ) [1] จังหวัดทตโตริ ประเทศญี่ปุ่น เขาฉายแววความสามารถในการวาดภาพตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรูป Yukiai War ที่เขาวาดชนะการแข่งขันและได้นำออกแสดงที่ห้างสรรพสินค้าทตโตริไดมารุ[2]เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนอิเกอูอิในยูระ และสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิปปอน
ในช่วงฤดูหนาว พ.ศ. 2529 เขาเข้าร่วมการประกวดการ์ตูนสำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ซึ่งเขาได้รับรางวัลชนะเลิศ นี่ยังเป็นก้าวแรกของเขาที่เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขาในฐานะนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นและนักเขียน[2]
อาชีพนักวาดการ์ตูน[แก้]
ผลงานชิ้นแรกของอาโอยามะคือ รอหน่อยนะ (ญี่ปุ่น: ちょっとまってて โรมาจิ: Chotto Matte) ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ โชเน็นซันเดย์ ในช่วงฤดูหนาว พ.ศ. 2530 และต่อมา จอมโจรอัจฉริยะ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของอาโอยามะ ก็ได้ลงพิมพ์ลงในนิตยสารเดียวกัน[2]
ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อาโอยามะออกผลงานอีกชิ้นที่ชื่อ ไยบะ และมีมังงะแบบรวมเล่มออกมา 24 เล่ม ต่อมาเขาเปลี่ยนไปออกมังงะประเภทจบในเรื่อง (ญี่ปุ่น: 単行本 โรมาจิ: Tankōbon) เช่น ไม้สี่จอมหวด, รวมเรื่องสั้นของโกโช อาโอยามะ, และ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[2]
รางวัล[แก้]
ในฐานะนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น อาโอยามะได้รับรางวัล 2 รางวัล ใน พ.ศ. 2535 เขาชนะรางวัล Shogakukan Manga Award สำหรับการ์ตูนแนวโชเน็งจากเรื่อง ไยบะ[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เขาก็ได้รับรางวัลเดิมจากเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[3]
นอกจากนี้ที่บ้านเกิดของเขาที่เมืองโฮกูอิยังมีการจัดทำโครงการฟื้นฟูเมืองให้มีชีวิตชีวา (Machi Okoshi) เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานมังงะของเขาและชาวเมือง ผลงานที่มาจากโครงการนี้ได้แก่สะพานโคนันข้ามแม่น้ำยูระ และรูปปั้นโคนันในเมือง ซึ่งผลงานนี้เป็นการแสดงความชื่นชม เอโดงาวะ โคนัน ตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[4] ต่อมาเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550 โรงงานมังงะของโกโช อาโอยามะ (Gosho Aoyama Manga Factory) พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จในอาชีพในฐานะนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นก็ได้เปิดขึ้นที่เมืองโฮกูอิ[1][5]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
อาโอยามะสมรสกับอิซูมิ อาราอิ (มินามิ ทากายามะ สมาชิกวง TWO-MIX และผู้พากย์เสียงของโคนันในอนิเมะ) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[6] ต่อมาทั้งคู่หย่าเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550[7]
ผลงาน[แก้]
ผลงานที่เขียนเอง[แก้]
ชื่อเรื่องภาษาไทย[8] | ชื่ออื่น[9] | ชื่อภาษาญี่ปุ่น | ปี | เนื้อเรื่อง |
---|---|---|---|---|
รอฉันด้วยนะ | ちょっとまってて (Chotto Mattete) | พ.ศ. 2530 | มังงะเรื่องแรกของอาโอยามะ ลงในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ กล่าวถึงอัจฉริยะหนุ่มชื่อทาคาอิ ยูทากะ (Takai Yutaka) ที่มีแฟนสาวอายุมากกว่าตน 2 ปี เพื่อแก้ปัญหาอายุห่างกัน ยูทากะจึงประดิษฐ์เป้แบกหลังที่เป็นไทม์แมชชีน เพื่อย้อนอดีตตัวเขาเองกลับไป 2 ปี แต่เพราะแฟนสาวของเขาไม่อยากให้เขาลำบาก แฟนสาวของเขาจึงแอบนำเป้ไปใช้และกลายเป็นผู้ที่ถูกส่งไปยังอนาคต 2 ปีแทน มังงะนี้ได้เอาไปรวมเล่มในหนังสือรวมเรื่องสั้นของโกโชะด้วย | |
ไยบะ | Yaiba | พ.ศ. 2531–2536 | มังงะ 24 เล่มจบเกี่ยวกับเรื่องของเจ้าหนูซามูไร คุโระงาเนะ ไยบะ (ญี่ปุ่น: 鉄刃 โรมาจิ: Kurogane Yaiba) ซึ่งต่อมานำไปสร้างเป็นอนิเมะ 52 ตอนจบ ปัจจุบัน บางตอนยังมีอยู่ในการ์ตูน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน | |
เธิร์ดเบอร์ 4 (โยบังเธิร์ด) | ไม้สี่จอมหวด, 4 บังเทิร์ด | 4番サード (Yonban Sādo) | พ.ศ. 2536 | มังงะเล่มเดียวจบเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนากาชิมะ ชิเกโอะ (ญี่ปุ่น: 長嶋茂雄 โรมาจิ: Nagashima Shigeo) ผู้เล่นเบสบอลธรรมดา ๆ ในโรงเรียนมัธยม วันหนึ่งเขาไปซื้อไม้เบสบอลจากร้านร้านหนึ่งมา ต่อมาปรากฏว่าไม้เบสบอลนั้นจะทำให้ผู้ตีสามารถตีได้ทุกลูกที่ขว้างมา แต่ทุกครั้งที่เขาตี เขาต้องเอาเงินใส่ไว้ในกระเป๋าข้างที่เขาตี |
จอมโจรอัจฉริยะ | まじっく快斗 (Majikku Kaito) | พ.ศ. 2531–2550 | มังงะ 4 เล่มเกี่ยวกับการผจญภัยของ จอมโจรคิด ผู้ใช้ทริกและการปลอมตัวทุกครั้งที่ขโมยของ มังงะสามเล่มแรกของเรื่องนี้ออกในช่วง พ.ศ. 2530–2537 และเล่มที่ 4 ออกใน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2551 ในประเทศไทย) และถึงแม้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะยังไม่มีการเขียนต่อ ณ ขณะนี้ แต่จอมโจรคิดก็ไปปรากฏตัวเป็นระยะ ๆ ใน ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน และบางตอนของจอมโจรอัจฉริยะยังสร้างเป็นโอวีเอแยกต่างหาก และตอนพิเศษแทรกในเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (ตอนที่ 219) | |
รวมเรื่องสั้นของโกโช อาโอยามะ[10] | ||||
พรจากซากุระ | プレイ イット アゲイン (Play It Again) | พ.ศ. 2531 | มังงะเกี่ยวกับปู่คนหนึ่งที่แพ้การดวลดาบกับหลานสาว ปู่คนนั้นจึงไปพูดกับต้นซากุระว่าอยากกลับไปเป็นหนุ่มสาวสักครั้ง แล้วปู่คนนั้นก็กลับเป็นหนุ่มสาวอีกครั้งตามที่ฝันไว้จริง ๆ | |
เอ็กซ์คาลิเบอร์ ไม้เบสบอลวิเศษ (หรือ ไม้เบสบอลวิเศษ) | えくすかりばぁ (Excalibur) | พ.ศ. 2531 | ||
ซานตาคลอสฤดูร้อน | 夏のサンタクロース (Natsu no Santa Claus) | พ.ศ. 2530 | มังงะเกี่ยวกับเด็กหนุ่ม ฮารา เคสุเกะ ที่บังเอิญทำให้อาวุธนิวเคลียร์ทำงาน เพื่อทำให้ฮาระสามารถหยุดอาวุธนั้นได้ ฮาระจึงได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งการนำซานตาคลอส มาอยู่ในฤดูร้อนก็ตาม | |
นักสืบโจจิ กับปฏิบัติการจิ๋วจิ๋ว (หรือ นักสืบพริกขี้หนู) | 探偵ジョージのミニミニ大作戦 (Tantei Jooji no minimini daisakusen) | พ.ศ. 2531 | ||
ผีเสื้อแดงโบยบินกับปริศนาหนึ่งทุ่ม 19 นาที Show (หรือ ผีเสื้อแดง) | サンデー19show さまよえる赤い蝶 (Shōnen Sunday 19 (tō-ku) show samayoeru akai chō) | พ.ศ. 2531 | ||
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน และผลงานที่เกี่ยวข้อง | 名探偵コナン (Meitantei Conan) | พ.ศ. 2539–ปัจจุบัน | มังงะที่กล่าวถึงยอดนักสืบ คุโด้ ชินอิจิ ที่วันหนึ่งกลายร่างเป็นเด็ก ระหว่างที่หาทางกลับร่างเดิมเขาก็ได้พบกับคดีต่าง ๆ มากมาย ผลงานนี้เป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของอาโอยามะ | |
Tell Me A Lie | ~私にウソをついて~ (~Watashi ni Uso wo Tsuite~) | พ.ศ. 2550 | มังงะหนึ่งช็อตที่กล่าวถึงเด็กหญิงชื่ออาราอิ เทรุมิ (ญี่ปุ่น: 新井輝海 โรมาจิ: Arai Terumi) ที่สามารถอ่านใจคนได้เพียงแค่มองเข้าไปในสายตา |
Leukemia
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และเป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย
ไข้หวัดใหญ่สเปน
![]() | |
โรค | ไข้หวัดใหญ่ |
---|---|
สถานที่ | ทั่วโลก |
ระบาดที่แรก | ไม่ทราบ |
รายงานการพบโรคครั้งแรก | สหรัฐ |
วันที่ | มกราคม ค.ศ. 1918 – ธันวาคม ค.ศ. 1920 |
ยืนยันป่วย | ประมาณ 500 ล้านคน[1] |
เสียชีวิต | ประมาณ 17–50 ล้านคน |
การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918 (มกราคม ค.ศ. 1918 – ธันวาคม ค.ศ. 1920 หรือคำรู้จักว่าไข้หวัดใหญ่สเปน) เป็นการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตมากผิดปกติ โดยเป็นโรคระบาดทั่วครั้งแรกจากสองครั้งที่เกี่ยวข้องกับไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1[2] มีผู้ได้รับผลกระทบ 500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งรวมหมู่เกาะแปซิฟิกห่างไกลและอาร์กติก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 ล้านคน ทำให้เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[1][3][4][5]
การระบาดของไข้หวัดใหญ่ส่วนมากทำให้เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อ่อนแออยู่แล้วเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น ในทางตรงข้าม การระบาดทั่ว ค.ศ. 1918 จะทำให้ผู้ใหญ่ตอนต้นที่เดิมสุขภาพดีเสียชีวิตมาก การวิจัยสมัยใหม่โดยใช้ไวรัสที่นำมาจากศพของผู้เสียชีวิตที่ถูกแช่แข็ง สรุปว่าไวรัสทำให้เสียชีวิตได้จากไซโทไคน์สตอร์ม (คือ ปฏิกิริยามากเกินของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย) ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของผู้ใหญ่ตอนต้นทำร้ายร่างกาย ขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าของเด็กและผู้ใหญ่วัยกลางคนทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าในกลุ่มเหล่านี้[6]
ข้อมูลประวัติศาสตร์และวิทยาการระบาดไม่เพียงพอระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของการระบาดทั่วนี้[1] การระบาดนี้เกี่ยวพันในการระบาดของเอ็นเซฟาไลติส ลีทาร์จิกา (encephalitis lethargica) ในคริสต์ทศวรรษ 1920[7]
นิรุกติศาสตร์[แก้]
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะมีชื่อไข้หวัดใหญ่สเปน แต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการระบาดวิทยาไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่สเปนได้[1] ที่มาของชื่อ "ไข้ใหญ่หวัดสเปน" เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดจากฝรั่งเศสไปยังสเปนในเดือนพฤศจิกายน 1918[8][9] ในเวลานั้นสเปนไม่ได้เข้าร่วมสงครามยังคงเป็นกลางไว้ และไม่เคยมีการตรวจพิจารณาสื่อในช่วงสงคราม[10][11] หนังสือพิมพ์จึงมีอิสระที่จะรายงานผลกระทบของโรคระบาด เช่น กษัตริย์อัลฟองโซที่สิบสามป่วยหนัก และเรื่องราวการระบาดอย่างกว้างขวาง ข่าวเหล่านี้สร้างความความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสเปนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง[12]
เกือบหนึ่งศตวรรษหลังจากไข้หวัดใหญ่สเปนระบาดในปี 1918–1920 องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์ หน่วยงานระดับชาติ และสื่อต่าง ๆ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีในการตั้งชื่อโรคติดเชื้อในมนุษย์ชนิดใหม่ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และผู้คน[13][14] คำศัพท์สมัยใหม่ที่ใช้เรียกไวรัสนี้ ได้แก่ "การระบาดทั่วของโรคไข้หวัดใหญ่ปี 1918 (1918 influenza pandemic, 1918 flu pandemic)" หรือในรูปแบบต่าง ๆ[15][16][17]
ประวัติ[แก้]
สมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มา[แก้]
สหราชอาณาจักร[แก้]
ทฤษฎีของนักวิจัยหลายคนเชื่อว่ากองทหารสหราชอาณาจักรและโรงพยาบาลสนามในเมืองเอตาปล์ (Étaples) ในฝรั่งเศสเป็นจุดกำเนิดของไข้หวัดใหญ่สเปน ทีมนักวิจัยอังกฤษนำโดยจอห์น ออกซ์ฟอร์ด (John Oxford) นักวิทยาไวรัสได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1999[18] ในปลายปี ค.ศ. 1917 นักพยาธิวิทยากองทัพรายงานว่ามีโรคใหม่ที่มีอัตราการตายสูงซึ่งต่อมาพวกเขาได้ยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ค่ายและโรงพยาบาลที่แออัดเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการแพร่กระจายของไวรัสระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีด้วยเคมีและจากการโจมตีอื่นๆในสงครามนับพันราย และมีทหารกว่า 100,000 คนผ่านค่ายทุกวัน นอกจากนี้ ยังเป็นบ้านของหมูและสัตว์ปีกซึ่งถูกซื้อเข้ามาเป็นประจำเพื่อเป็นเสบียงอาหารจากหมู่บ้านโดยรอบ ออกซ์ฟอร์ดและทีมของเขาตั้งสมมติฐานว่าไวรัสมีต้นกำเนิดจากนก เกิดการกลายพันธุ์และแพร่ไปยังสุกรที่อาศัยอยู่ใกล้กัน[19][20]
รายงานที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ในวารสารสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) พบหลักฐานว่า 1918 ไวรัส มีการแพร่กระจายในกองทัพยุโรปเป็นเวลาหลายเดือนและอาจเป็นปีก่อนที่จะมีการระบาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1918[21]
ประเทศสหรัฐอเมริกา[แก้]
ในปี ค.ศ. 2018 การศึกษาสไลด์เนื้อเยื่อและรายงานทางการแพทย์ที่นำโดยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ไมเคิล โวโรเบย์ (Michael Worobey) พบว่ามีหลักฐานการเกิดโรคจากแคนซัส เนื่องจากมีผู้ป่วยและมีผู้เสียชีวิตน้อยเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในนิวยอร์กซิตี้ในช่วงเวลาเดียวกัน จากการศึกษาผ่านวงศ์วานวิวัฒนาการยังพบหลักฐานว่าเชื้อไวรัสน่าจะมีต้นกำเนิดในอเมริกาเหนือแม้ว่าจะไม่ได้ข้อสรุป นอกจากนี้ ฮีแมกกูตินิน ไกลโคโปรตีน (haemagglutinin glycoproteins) ของไวรัสแสดงว่ามันเกิดและอยู่ไกลไปก่อนปี ค.ศ. 1918 และการศึกษาอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าการรวมตัวของยีนส์ของไวรัส H1N1 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 1915[22]
ประเทศจีน[แก้]
หนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคของโลกที่ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 คือสาธารณรัฐจีน ซึ่งอาจจะมีไข้หวัดใหญ่ฤดูเล็กน้อยในปี ค.ศ. 1918 (แม้ว่าจะมีการโต้แย้งเนื่องจากขาดข้อมูลในช่วงยุคสมัยขุนศึกของจีน) ในการศึกษาหลายชิ้นมีเอกสารที่แสดงว่ามีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในจีนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก[23][24][25] สิ่งนี้นำไปสู่การคาดการณ์ว่าไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปี ค.ศ. 1918 มีต้นกำเนิดในประเทศจีน[26][24][27][28] โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ฤดูที่น้อยและอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ในประเทศจีนที่ต่ำในปี ค.ศ. 1918 อาจจะอธิบายได้ว่าประชากรชาวจีนมีระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะไวรัสไข้หวัดใหญ่แล้ว[29][26][24]
ในปี ค.ศ. 1993 โคลด แฮนนาว (Claude Hannoun) ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 1918 สถาบันปาสเตอร์ ยืนยันว่าไวรัสรูปแรกน่าจะมาจากประเทศจีนจากนั้นก็กลายพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาใกล้กับบอสตันและจากที่นั่นแพร่กระจายไปยังแบร็สต์ ฝรั่งเศส สมรภูมิยุโรป และทั่วโลกโดยมีทหารและลูกเรือฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้แพร่[30]
ในปี ค.ศ. 2014 นักประวัติศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเมมฌมเรียลแห่งนิวฟันด์แลนด์ (Memorial University of Newfoundland) ในเซนต์จอนส์ มาร์ค ฮัมฟรีส์ (Mark Humphries) โต้แย้งว่าการระดมกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวจีนราว 96,000 คน เพื่อทำงานเบื้องหลังแนวรบอังกฤษและฝรั่งเศสอาจเป็นแหล่งที่มาของการระบาด ตามข้อสรุปของเขาในบันทึกที่เพิ่งเปิดเผย เขาพบหลักฐานจดหมายเหตุที่แสดงว่าโรคทางเดินหายใจเกิดขึ้นในภาคเหนือของจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ถูกระบุในปีถัดไปโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สเปน[31][32]
รายงานที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ในวารสารสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) ไม่พบหลักฐานว่าเชื้อ 1918 ไวรัสถูกนำเข้าสู่ยุโรปผ่านทหารและคนงานจีนและคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบหลักฐานการหมุนเวียนของไวรัสในยุโรปก่อนการระบาดแทน[21] การศึกษาปี ค.ศ. 2016 ชี้ให้เห็นว่าอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ที่พบในคนงานจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุโรปต่ำ (ประมาณ 1/1000) หมายความว่าการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 นั้นไม่ได้เกิดจากคนงานเหล่านั้น[21]
การศึกษาในปี ค.ศ. 2018 ของสไลด์เนื้อเยื่อและรายงานทางการแพทย์นำโดยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ไมเคิล โวโรเบย์ (Michael Worobey) พบหลักฐานแย้งที่ว่าโรคนี้แพร่กระจายโดยคนงานชาวจีน โดยสังเกตว่าคนงานที่เข้าสู่ยุโรปผ่านเส้นทางอื่น ๆ ไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรค ทำให้พวกเขาไม่ใช่เจ้าบ้าน (host) ต้นกำเนิด[22]
อื่นๆ[แก้]
แฮนนาวพิจารณาสมมติฐานทางเลือกของแหล่งกำเนิด เช่น สเปน, แคนซัส, และแบร็สต์ ซึ่งอาจเป็นไปได้หรือไม่ก็ได้[30] นักวิทยาศาสตร์นโยบาย แอนดรู ไพรซ์ - สมิธ (Andrew Price-Smith) เผยแพร่ข้อมูลจาก หอจดหมายเหตุของออสเตรียที่แสดงว่าไข้หวัดใหญ่เริ่มในประเทศออสเตรียเมื่อต้นปี ค.ศ. 1917[33]
การระบาด[แก้]
เมื่อผู้ติดเชื้อจามหรือไออนุภาคไวรัสมากกว่าครึ่งล้านอนุภาคสามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง[34] ค่ายทหารที่หนาแน่นและการเคลื่อนย้ายทหารจำนวนมากในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดและเพิ่มอัตราการตาย สงครามได้เพิ่มความร้ายแรงของพลังทำลายของไวรัส มีการคาดการณ์ว่าระบบภูมิคุ้มกันโรคของทหารอ่อนแอลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ความเครียดจากการต่อสู้ และการโจมตีทางเคมี[35][36]
ปัจจัยหลักในการเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกนี้คือการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ระบบการขนส่งสมัยใหม่ทำให้ทหาร กะลาสีและพลเรือนเดินทางได้ง่ายขึ้นและแพร่กระจายโรคได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน[37] อีกประการหนึ่ง คือการโกหกและการปฏิเสธจากรัฐบาลทำให้ประชากรไม่พร้อมที่จะรับมือกับการระบาด[38]
ในสหรัฐอเมริกา โรคนี้ถูกเฝ้าระวังเป็นครั้งแรกในแฮสเค็ลล์เคาท์ตี รัฐแคนซัส ในเดือนมกราคมปี 1918 กระตุ้นให้แพทย์ท้องถิ่นลอร์ลิ่ง มายเนอร์ (Loring Miner) ส่งคำเตือนไปยังวารสารวิชาการด้านการบริการสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา วันที่ 4 มีนาคม 1918 อัลเบิร์ต กิตเชล (Albert Gitchell) หน่วยปรุงอาหาร จากแฮสเค็ลล์เคาท์ตี ถูกรายงานว่าป่วยที่ฟอร์ทไรลีย์ ซึ่งในเวลานั้น อยู่ระหว่างการฝึกของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เขาเป็นเหยื่อรายแรกที่มีการบันทึกไว้ของไข้หวัดใหญ่[39][40][41] ในวันเดียวกันนั้น ทหาร 522 นายในค่ายถูกรายงานว่าป่วย[42]เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1918 ไวรัสได้มาถึงควีนส์ นครนิวยอร์ก[37] ความล้มเหลวในการใช้มาตรการป้องกันในเดือนมีนาคม/เมษายนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในภายหลัง[4]
ในเดือนสิงหาคมปี 1918 สายพันธุ์ที่ดุร้ายยิ่งปรากฏขึ้นพร้อมกันในแบร็สต์ ประเทศฝรั่งเศส ในฟรีทาวน์ เซียร์ราลีโอน และในสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายนที่ อู่ต่อเรือบอสตันและค่ายดีเวนส์ (Camp Devens) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นฟอร์ตดีเวนส์ (Fort Devens)) ประมาณ 30 ไมล์ทางตะวันตกของบอสตัน ในไม่ช้า หน่วยทหารอื่นๆก็เริ่มเจ็บป่วยเช่นเดียวกับกองทหารที่ถูกส่งไปยังยุโรป[43]
อีกเรื่องที่แปลกคือ เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (ในซีกโลกเหนือ) ซึ่งโดยปกติแล้วไข้หวัดใหญ่มักจะระบาดในฤดูหนาว[44]
อัตราการตาย[แก้]
ทั่วโลก[แก้]
มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สเปนประมาณ 500 ล้านคนทั่วโลก หรือประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก[1] ในการประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไข้หวัดใหญ่สเปนได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในโรคระบาดร้ายแรงที่มีผู้เสียชีวิตมากสุดในประวัติศาสตร์[47][48]
การประมาณการในปี 1991 ระบุว่าไวรัสฆ่าคนไประหว่าง 25 และ 39 ล้านคน[3] การประมาณการปี 2005 ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตที่ 50 ล้านคน (ประมาณน้อยกว่า 3% ของประชากรโลก) และอาจสูงถึง 100 ล้านคน (มากกว่า 5%)[49][5] อย่างไรก็ตาม มีการประเมินใหม่ในปี 2018 คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจำนวนประมาณ 17 ล้านคน[50] แม้ว่าจะมีการโต้แย้งกันก็ตาม[51] ในเวลานั้นมีประชากรโลกประมาณ 1.8 ถึง 1.9 พันล้านคน[52] ประมาณการเหล่านี้ มีความสอดคล้องกันคืออยู่ระหว่าง 1 และ 6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้คร่าชีวิตผู้คนใน 24 สัปดาห์ได้มากกว่า HIV/AIDS ในระยะเวลา 24 ปี[6] อย่างไรก็ตาม อัตราการตายต่อจำนวนประชากรยังน้อยกว่ากาฬมรณะซึ่งระบาดเป็นเวลาหลายร้อยปี[53]
โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนไปทั่วโลก มีผู้คนราว 12-17 ล้านคนเสียชีวิตในอินเดียซึ่งประมาณ 5% ของประชากร[54] หรือเสียชีวิตอย่างน้อย 12 ล้านคน[55] ยอดผู้เสียชีวิตในเขตปกครองโดยตรงในอินเดียของอังกฤษประมาณ 13.88 ล้านคน[56]
การประมาณการยอดผู้เสียชีวิตในประเทศจีนมีความหลากหลาย[57][3] เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพสู่ศูนย์กลางในช่วงเวลานั้น เนื่องจากเป็นสมัยขุนศึก การประเมินยอดผู้เสียชีวิตครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นในปี 1991 โดยแพตเตอร์สัน (Patterson) และไพล์ (Pyle) ซึ่งคาดว่า ในประเทศจีนจะมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 5 - 9 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 1991 ภายหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์และติเตียนจากการศึกษาในภายหลังเนื่องจากวิธีการศึกษามีข้อบกพร่อง และการศึกษาครั้งใหม่ที่ได้ตีพิมพ์ ประเมินอัตราการตายที่เกิดขึ้นในประเทศจีนต่ำกว่ามาก[23][58][59] ตัวอย่างเช่น อีจิมะ (Iijima) ในปี 1998 ประมาณการยอดผู้เสียชีวิตในประเทศจีนอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1.28 ล้านคนจากข้อมูลที่มีอยู่ในเมืองท่าเรือของจีน[60] ตามบันทึกของวาตารุ อีจิมะ (Wataru Iijima)
"ในการศึกษา 'การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918' แพตเตอร์สันและไพล์ได้พยายามประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปนในประเทศจีนโดยรวม พวกเขาอภิปรายว่าในประเทศจีนมีผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 4.0 ถึง 9.5 ล้านคน แต่ทั้งหมดนี้ อยู่บนพื้นฐานจากการสันนิษฐานว่าอัตราการตายอยู่ที่ 1.0–2.25 เปอร์เซ็นต์ในปี 1918 เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ยากจนคล้ายกับอินโดนีเซียและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการตายเป็นไปตามนั้น เห็นได้ชัดว่าการศึกษาของพวกเขาไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อมูลสถิติท้องถิ่นของจีน"[61]
การประมาณการยอดผู้เสียชีวิตที่ต่ำของจีนนั้นขึ้นอยู่บนพื้นฐานอัตราการตายที่ต่ำที่พบในเมืองท่าของจีน (ตัวอย่างเช่น ฮ่องกง) และจากการสันนิษฐานว่าการติดต่อสื่อสารที่ไม่ดี ช่วยป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายเข้าไปแผ่นดินใหญ่ของจีน[57] อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์และรายงานที่ทำการไปรษณีย์ร่วมสมัย รวมถึงรายงานจากแพทย์สอนศาสนา แสดงว่าไข้หวัดใหญ่ได้แทรกซึมเข้าไปภายในประเทศจีน และระบาดหนักในบางพื้นที่ในชนบทของจีน[62]
ในญี่ปุ่น มีผู้ป่วย 23 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 390,000 คนตามรายงาน[63] ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย) ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิต 1.5 ล้านคน จากพลเมือง 30 ล้านคน[64] ในตาฮีตี มีประชากรเสียชีวิต 13% ใน 1 เดือน เช่นเดียวกับ ในซามัว 22% ของประชากร 38,000 คนเสียชีวิตในสองเดือน[65]
ในนิวซีแลนด์ ไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตประชากรปาเกฮา (คนขาว) ไปประมาณ 6,400 คนและชาวมาวรี 2,500 คนในหกสัปดาห์ ซึ่งชาวมาวรีมีอัตราการตายเป็นแปดเท่าของชาวปาเกฮา[66][67]
ในอิหร่านมีอัตราการตายสูงมาก: ตามการประมาณการมีผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 902,400 ถึง 2,431,000 คน หรือ 8% ถึง 22% ของประชากรทั้งหมด[68]
ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 28% ของประชากร 105 ล้านคนติดเชื้อและ 500,000 ถึง 850,000 คนเสียชีวิต (0.48 ถึง 0.81 เปอร์เซ็นต์ของประชากร)[69] เผ่าชนพื้นเมืองอเมริกันได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ ในพื้นที่สี่มุม (Four Corners) ชนพื้นเมืองอเมริกันมีผู้เสียชีวิตที่บันทึกไว้ 3,293 คน[70] ทั้งชุมชนหมู่บ้านชาวเอสกิโมและชนพื้นเมืองอะแลสกาในดินแดนอะแลสกาได้ล่มจมตายจากไป[71] ในแคนาดาเสียชีวิต 50,000 คน[72]
ในบราซิลมีผู้เสียชีวิต 300,000 คนรวมถึงประธานาธิบดี ร็อดริกส์ อัลเวส (Rodrigues Alves)[73] ในสหราชอาณาจักรมีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ในฝรั่งเศสมีมากกว่า 400,000 คน[74]
ในกานา การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 100,000 คน[75] ตาฟารี มาคอนเนน (สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี แห่งเอธิโอเปีย) เป็นหนึ่งในชาวเอธิโอเปียคนแรกที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่รอดชีวิตมาได้[76][77] แต่พลเมืองของเขาหลายรายไม่รอด ประมาณการผู้เสียชีวิตในเมืองหลวง อาดดิสอาบาบา อยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 10,000 หรือสูงกว่า[78] ในบริติชโซมาลิแลนด์ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งประเมินว่า 7% ของประชากรพื้นเมืองเสียชีวิต[79]
ในประเทศไทย การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนคาดว่าเกิดจากทหารอาสาที่เดินทางจากยุโรปกลับมาประเทศไทย[80] โดยเริ่มขึ้นในปลายปี 1918 ที่ภาคใต้ จากข้อมูลในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กรกฎาคม 2462 เล่มที่ 36 หน้า 1193 พบว่ามีผู้ป่วยถึง 2,317,662 คน หรือ 27% ของจำนวนประชากร และเสียชีวิต 80,223 คน[81][82] รวมถึง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถที่ทรงประชวรจนทิวงคตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปวดบวม ในปี 1920 ซึ่งคาดว่าเกิดจากไข้หวัดใหญ่สเปน[80]
ยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากนี้ เป็นผลมาจากอัตราการติดเชื้อที่สูงถึง 50% และความรุนแรงของอาการ ซึ่งคาดว่าเกิดจากพายุไซโตไคน์[3] อาการของโรคในปี 1918 นั้นผิดปกติ อาการแรกเริ่มทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดเป็น ไข้เด็งกี, อหิวาตกโรค, หรือ ไข้รากสาดน้อย ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งเขียนว่า "หนึ่งในอาการที่เด่นชัดของภาวะแทรกซ้อนคือเลือดออกจากเยื่อเมือก โดยเฉพาะจากจมูก กระเพาะอาหาร และลำไส้ การมีเลือดออกจากหูและจุดเลือดออกในผิวหนังก็เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน"[49] สาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย[83][84][85] ซึ่งเป็นการติดเชื้อทุติยภูมิร่วมกับไข้หวัดใหญ่ ไวรัสยังฆ่าคนโดยตรงโดยทำให้เกิดอาการตกเลือดและอาการบวมน้ำในปอด[85]
รูปแบบของการเสียชีวิต[แก้]
ในภาวะระบาดทั่ว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ในปี 1918–1919 99% ของการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี และเกือบครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเป็นผู้มีอายุ 20 ถึง 40 ปี ซึ่งคาดว่าผู้สูงอายุอาจมีการป้องกันกันบางส่วนที่เกิดจากการสัมผัสกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี 1889–1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย"[86] ในปี 1920 ในอัตราการตายในหมู่คนที่อายุต่ำกว่า 65 ปีได้ลดลงจากหกเท่าเหลือครึ่งหนึ่งของอัตราการตายของคนที่อายุมากกว่า 65 ปี แต่ 92% ของการเสียชีวิตยังคงเกิดขึ้นในคนที่อายุต่ำกว่า 65 ปี[87] นี่เป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มักเป็นอันตรายถึงคนที่อ่อนแอ เช่น ทารกที่มีอายุต่ำกว่าสองปี คนชราที่อายุมากกว่า 70 ปี และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ตามข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ จอห์น เอ็ม. แบร์รี (John M. Barry) กลุ่มเสี่ยงที่สุดที่จะเสียชีวิตคือหญิงตั้งครรภ์ เขารายงานว่าในการศึกษาสิบสามชิ้นของผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาในช่วงของการระบาดมีอัตราการตายอยู่ระหว่าง 23% ถึง 71%[88] หญิงตั้งครรภ์ที่รอดชีวิตเมื่อคลอดบุตร หนึ่งในสี่ (26%) จะสูญเสียบุตรไป[89]
จากการวิเคราะห์สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าไวรัสมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต เพราะมันก่อให้เกิดพายุไซโตไคน์ (ปฏิกิริยารุนแรงเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน) ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของคนหนุ่มสาว[90] นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ทำการกู้คืนไวรัสจากร่างของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกแช่แข็งไว้แล้วนำเอาสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์ของสัตว์ สัตว์เหล่านี้ประสบกับความทุกข์ทรมานจากการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตด้วยพายุไซโตไคน์ มีการตั้งสมมุติฐานว่าปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรงของคนหนุ่มสาวได้เป็นตัวการในการทำลายร่างกาย ในขณะที่ในเด็กและผู้ใหญ่วัยกลางคนมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่อ่อนกว่า ส่งผลให้เสียชีวิตน้อยกว่าในกลุ่มเหล่านั้น[6][91]
ในกรณีที่อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว การเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากโรคปอดบวม โดยมีอาการปอดแข็งตัวร่วมกับการติดเชื้อไวรัส ในกรณีที่อาการป่วยค่อยเป็นค่อยไปจะเป็นปอดอักเสบจากแบคทีเรียทุติยภูมิและอาจกระทบถึงระบบประสาทซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตในบางกรณี การเสียชีวิตบางส่วนเกิดจากการขาดสารอาหาร
การตายระลอกสอง[แก้]
การระบาดทั่วระลอกที่สองในปี 1918 นั้นร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตมากยิ่งกว่าครั้งแรก การระบาดรอบแรกนั้นคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้ที่ยังเด็ก ผู้มีสุขภาพแข็งแรงหายป่วยได้ง่าย เดือนสิงหาคม เมื่อการระบาดระลอกที่สองเริ่มขึ้นในฝรั่งเศส เซียร์ราลีโอน และสหรัฐอเมริกา[92] ไวรัสได้กลายพันธุ์ในสายพันธุ์ที่อันตรายกว่าเดิมมาก ตุลาคม 1918 เป็นเดือนที่มีอัตราการตายสูงที่สุดของการระบาด[93]
ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นนี้มีสาเหตุมาจากสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[94] ในการดำรงชีวิตของพลเรือน การคัดเลือกโดยธรรมชาติสนับสนุนไวรัสสายพันธุ์อ่อน ผู้ที่ป่วยหนักพักรักษาตัวอยู่บ้าน ไวรัสสายพันธุ์อ่อนก็ดำรงวงจรชีวิต และแพร่กระจายสายพันธุ์อ่อนต่อไป ในสนามเพลาะ การคัดเลือกโดยธรรมชาติกลับตรงกันข้าม ทหารที่มีไวรัสสายพันธุ์อ่อนอยู่ในที่ที่พวกเขาอยู่ ในขณะที่ผู้ป่วยหนักถูกส่งตัวโดยรถไฟที่มีคนหนาแน่นไปโรงพยาบาลสนามที่มีผู้คนหนาแน่น และกระจายเชื้อไวรัสร้ายแรงออกไป การระบาดระลอกสองเริ่มขึ้น และไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ดังนั้น ผลที่สุดก็คือ ในช่วงการระบาดทั่ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความสนใจเมื่อไวรัสมาถึงสถานที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ทางสังคม (มองหาไวรัสสายพันธุ์ร้ายแรง)[95]
ความจริงที่ว่าคนส่วนใหญ่ที่หายจากการติดเชื้อจากการระบาดรอบแรกได้มีภูมิคุ้มกัน แสดงให้เห็นว่ามันจะต้องเป็นไข้หวัดสายพันธุ์เดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในโคเปนเฮเกนซึ่งมีอัตราการตายรวมกันเพียง 0.29% (0.02% ในรอบแรกและ 0.27% ในรอบที่สอง) เพราะได้รับเชื้อจากการระบาดรอบแรกที่อันตรายน้อยกว่า[96] สำหรับอัตราการตายของประชากรในการระบาดรอบที่สองที่มากกว่านั้น เกิดจากกลุ่มเสี่ยง เช่น ทหารในสนามเพลาะ[97]
ระลอกที่สามปี 1919 และระลอกที่สี่ปี 1920[แก้]
ในเดือนมกราคม 1919 ไข้หวัดใหญ่สเปนระลอกที่สามได้ระบาดที่ออสเตรเลีย จากนั้นก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกาจนถึงเดือนมิถุนายนปี 1919[98][99][100] ประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ สเปน, เซอร์เบีย, เม็กซิโก และบริเตนใหญ่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน[101] แม้การระบาดระลอกสามจะรุนแรงน้อยกว่าระลอกที่สอง แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตมากกว่าระลอกแรก
ในฤดูใบไม้ผลิปี 1920 มีการระบาดเล็กๆเกิดขึ้นเป็นระลอกที่สี่[102] ในพื้นที่โดดเดี่ยวประกอบด้วย มหานครนิวยอร์ก [103] สหราชอาณาจักร, ออสเตรีย, สแกนดิเนเวีย และบางเกาะในหมู่เกาะอเมริกาใต้[104] มีอัตราการตายต่ำมาก
ชุมชนที่ถูกทำลาย[แก้]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย[แก้]
แอสไพรินเป็นพิษ[แก้]
ในปี 2009 ในบทความที่ตีพิมพ์ใน Clinical Infectious Diseases (วารสารโรคติดเชื้อทางคลินิก) คาเรน สตาร์โค (Karen Starko) เสนอว่าแอสไพรินเป็นพิษมีส่วนสำคัญต่อการเสียชีวิต บนพื้นฐานจากรายงานการชันสูตรพลิกศพผู้ที่เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในช่วงเวลา "death spike" ครั้งใหญ่ในเดือนตุลาคม 1918 ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากแพทย์ทหารของกองทัพสหรัฐและ Journal of the American Medical Association แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินปริมาณมากขนาด 8 ถึง 31 กรัมต่อวันเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ยาปริมาณนี้ทำให้ผู้ป่วย 33% เกิดอาหารหายใจเร็วกว่าปกติ และผู้ป่วย 3% เกิดอาการปอดบวมน้ำ[105]
สตาร์โกยังตั้งข้อสังเกตว่าการเสียชีวิตจำนวนมากในช่วงแรกแสดงให้เห็นว่าปอดมีน้ำหรือมีน้ำเลือดซึมซ่าน ในขณะที่ผู้เสียชีวิตในช่วงปลายแสดงอาการปอดอักเสบจากแบคทีเรีย เธอกล่าวว่าเหตุการณ์แอสไพรินเป็นพิษเป็นเพราะ "พายุมหาประลัย" ของเหตุการณ์สิทธิบัตรยาแอสไพรินของไบเออร์หมดอายุ หลายบริษัทรีบวิ่งเข้าไปทำกำไรและเพิ่มอุปทาน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่สเปน และอาการของแอสไพรินเป็นพิษยังไม่เป็นที่รู้จักในเวลานั้น[105]
สมมติฐานอัตราการตายทั่วโลกที่สูงนั้นเกิดจากแอสไพรินเป็นพิษนี้ถูกตั้งคำถามในจดหมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2010 โดย แอนดรูว์ นอยเมอร์ (Andrew Noymer) และ เดซี่ แคาร์รออน (Daisy Carreon) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ และ นีล จอห์นสัน (Niall Johnson) คณะกรรมาธิการความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลสุขภาพออสเตรเลีย พวกเขาตั้งคำถามถึงทฤษฎีการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางของแอสไพริน เนื่องจากอัตราการตายสูงในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ที่มีแอสไพรินน้อยหรือไม่มีการเข้าถึงเลย เมื่อเทียบกับอัตราการตายในบางสถานที่ที่แอสไพรินมีมากมาย[106]
พวกเขาสรุปว่า "การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับซาลิไซลิก (แอสไพริน) เป็นพิษ เป็นเรื่องยากที่จะสนับสนุนซึ่งคำอธิบายปฐมภูมิสำหรับความรุนแรงที่ผิดปกติของการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ในปี 1918–1919"[106] สตาร์โกตอบโต้โดยกล่าวว่ามีหลักฐานโดยเรื่องเล่าของการใช้แอสไพรินในประเทศอินเดีย และเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ถ้าการใช้แอสไพรินเกินกำหนดไม่ได้มีส่วนทำให้อัตราการตายในอินเดียสูง แต่มันคงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอัตราการตายที่สูง ในพื้นที่ที่ปัจจัยรุนแรงอื่นๆที่มีอยู่ในอินเดียมีบทบาทน้อย[107]
จุดสิ้นสุดของการระบาด[แก้]
หลังจากการระบาดรุนแรงรอบที่สองในช่วงปลายปี 1918 ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอย่างฉับพลัน แทบจะไม่ผู้ป่วยเลยหลังจากผ่านจุดระบาดสูงสุดในคลื่นลูกที่สอง[6] ตัวอย่างเช่นในฟิลาเดลเฟีย มีผู้เสียชีวิต 4,597 รายเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ในวันที่ 16 ตุลาคม แต่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนไข้หวัดใหญ่กลับหายตัวไปจากเมืองอย่างไร้ร่องรอย คำอธิบายหนึ่งสำหรับการลดลงอย่างรวดเร็วของโรคนี้คือ แพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการป้องกันและรักษาโรคปอดบวมที่พัฒนาขึ้นหลังจากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม จอห์น แบร์รี่ (John Barry) ระบุไว้ในหนังสือ The Great Influenza: The Epic Story of the Deadliest Plague In History ของเขาว่า นักวิจัยไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนคำอธิบายนี้[90] ยังมีบางกรณีที่ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตในมีนาคม 1919 ผู้เล่นคนหนึ่งในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศถ้วยสแตนลีย์ 1919 ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปน
อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเชื้อ 1918 ไวรัส ได้กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีความร้ายแรงน้อยลง นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไปกับไวรัสไข้หวัดใหญ่กล่าวคือ มีแนวโน้มว่าไวรัสก่อโรคจะมีความร้ายแรงน้อยลงตามกาลเวลา เนื่องจากโฮสต์ของสายพันธุ์ที่อันตรายกว่ามีแนวโน้มที่จะตายจากไปจนหมด[90]
ผลกระทบระยะยาว[แก้]
จากการศึกษาปี 2006 ใน Journal of Political Economy (วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง) พบว่า "เด็กในครรภ์ระหว่างการระบาดทั่วจะมีความสำเร็จทางการศึกษาลดลง, อัตราความพิการทางร่างกายเพิ่มขึ้น, รายได้ลดลง, สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตกต่ำ, และได้รับเงินโอนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น"[108] จากการศึกษาปี 2018 พบว่าการระบาดใหญ่ลดความสำเร็จทางการศึกษาในประชากร[109]
ไข้หวัดใหญ่มีความเชื่อมโยงกับการระบาดของสมองอักเสบแบบไม่เคลื่อนไหวในคริสต์ทศวรรษที่ 1920[7]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() | คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ไข้หวัดใหญ่สเปน |
No comments:
Post a Comment